อุทยานประวัติศาสตร์ปราสาทพนมรุ้ง หรือ ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง ศาสนบรรพตที่สวยที่สุดในประเทศไทยในจังหวัดบุรีรัมย์ในภาคอีสาน ครั้งหนึ่งในชีวิต คุณเคยมาเที่ยวชมความงามของปราสาทหินเขาพนมรุ้งแล้วหรือยัง ? ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง หรือ ปราสาทพนมรุ้ง เป็นโบราณสถานปราสาทหินในศิลปเขมรที่มีความงดงามตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้งและมีความสำคัญมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทยเนื่องจากตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้งและมีภูมิทัศน์ที่สวยงามรวมถึงมีปรากฎการณ์ทางธรรมชาติพระอาทิตย์ขึ้นและตกทะลุ 15 ช่องประตู ณ ปราสาทหินเขาพนมรุ้งของทุกๆปีจะมีปรากฎการณ์ดังกล่าว 4 ครั้ง โดยตัวปราสาทตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้ง (ภูเขาพนมรุ้งคือภูเขาไฟเขาพนมรุ้งที่ดับสนิทแล้ว) ในเขตตำบลตาเป๊ก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ปราสาทหินเขาพนมรุ้งสร้างขึ้นเนื่องในศานาฮินดูลัทธิไศวนิกาย ซึ่งนับถือพระศิวะเป็นเทพสูงสุด ดังนั้น เขาพนมรุ้งจึงเปรียบเสมือนเขาไกรลาศที่ประทับของเทพพระศิวะ องค์ประกอบและแผนผังของปราสาทพนมรุ้งได้รับการออกแบบให้มีลักษณะเป็นเส้นตรง และเน้นความสำคัญเข้าหาจุดศูนย์กลางนั่นคือปราสาทประธานปราสาทหินเขาพนมรุ้ง ซึ่งหันหน้าไปทิศตะวันออก ด้านขวาของบันไดทางขึ้นสู่ศาสสถานมีอาคารที่เรียกว่า "พลับพลาเปลื้องเครื่อง" ซึ่งเป็นที่พักจัดเตรียมพระองค์ของกษัตริย์ก่อนเสด็จเข้าสักการะเทพเจ้า หรือประกอบพิธีกรรมในบริเวณศาสนสถานปราสาทหิน
ถัดจากนั้นเป็นทางเดินทั้งสองข้างประดับด้วยเสามียอดคล้ายดอกบัวตูม เรียกว่า “เสานางเรียง” มีจำนวนข้างละ 34 ต้นทอดตัวไปยังสะพานนาคราชซึ่งมีผังรูปกากบาทยกพื้นสูง ราวสะพานทำตัวเป็นลำตัวพญานาค 5 เศียร สะพานนาคราชนี้ ตามความเชื่อเป็นทางที่เชื่อมระหว่างโลกมนุษย์กับเทพเจ้า สิ่งที่น่าสนใจคือ จุดกึ่งกลางสะพานนาคราช มีภาพจำหลักรูปดอกบัวแปดกลีบ อาจหมายถึงเทพประจำทิศทั้งแปดในศาสนาฮินดู หรือเป็นยันต์สำหรับการบวงสรวง หรือเป็นจุดที่ผู้มาทำการบูชา ตั้งจิตอธิษฐานขอพร
จากสะพานนาคราชขั้นที่ 1 มีบันไดจำนวน 52 ขั้น ขึ้นไปยังลานบนยอดเขาพนมรุ้ง ที่หน้าซุ้มประตูระเบียงคดทิศตะวันออก มีสะพานนาคราชขั้นที่ 2 ระเบียงคดก่อเป็นตัวห้องยาวต่อเนื่องกันเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ารอบลานปราสาทพนมรุ้งแต่ไม่สามารถเดินทะลุถึงกันได้ เพราะมีผนังกั้นเป็นช่วงๆ มีซุ้มประตูอยู่กึ่งกลางของแต่ละด้าน ที่มุมระเบียงคดทำเป็นซุ้มกากบาท ที่หน้าบันของระเบียงคดทิศตะวันออกด้านนอกมีภาพจำหลักรูปฤาษีซึ่งหมายถึงพระศิวะในปางที่เป็นผู้รักษาโรคภัยไข้เจ็บ และอาจหมายรวมถึงพระนเรนทราทิตย์ ผู้ก่อสร้างปราสาทประธานปราสาทหินเขาพนมรุ้งด้วย
ปราสาทประธานปราสาทหินเขาพนมรุ้ง ก่อด้วยหินทรายสีชมพูมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ย่อมุม ด้านหน้าทำเป็นมณฑปโดยมีอันตราละหรือฉนวนเชื่อมปราสาทประธานปราสาทหินเขาพนมรุ้ง นี้ เชื่อว่าสร้างโดยพระนเรนทราทิตย์ซึ่งเป็นผู้นำการปกครองชุมชนที่มีปราสาทหินเขาพนมรุ้งเป็นศูนย์กลาง ภายในเรือนธาตุตรงกึ่งกลาง เรียกว่า “ห้องครรภคฤหะ” เป็นที่ประดิษฐานรูปเคารพที่สำคัญที่สุดเชื่อว่าในที่นี้คือ “ศิวลึงค์” ซึ่งแทนองค์พระศิวะ และมีทางต่อเชื่อมกับท่อโสมสูตร คือร่องน้ำมนต์ที่ใช้รับน้ำสรงสักการะศิวลึงค์เท่านั้น
ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และทิศตะวันตกเฉียงใต้ของปราสาทประธานปราสาทหินเขาพนมรุ้ง มีปราสาทอิฐ 2 องค์ และปรางค์น้อย จากหลักฐานทางด้านสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม กล่าวได้ว่า ปราสาททั้ง 3 หลังสร้างขึ้นก่อนปราสาทประธานในราวพุทธศตวรรษที่ 15 และ 16 ตามลำดับ ส่วนทางด้านหน้าของปราสาทประธานปราสาทหินเขาพนมรุ้ง คือทิศตะวันออกเฉียงหนือ และทิศตะวันออกเฉียงใต้ มีอาคาร 2 หลังก่อด้วยศิลาแลง เรียกว่า “บรรณาลัย” ซึ่งเป็นที่เก็บรักษาคัมภีร์ทางศาสนาของศาสนาฮินดู
ที่บริเวณหน้าบันและทับหลังของปราสาทประธานปราสาทหินพนมรุ้ง มีภาพจำหลักแสดงเรื่องราวในศาสนาฮินดู เช่น พระศิวะนาฏราช (พระศิวะทรงฟ้อนรำ) พระนารายณ์บรรทมสินธุ์ อวตารของพระนารายณ์ เช่น พระรามในเรื่องรามเกียรติ์หรือ พระกฤษณะ ภาพพิธีกรรม ภาพชีวิตประจำวันของฤาษี เป็นต้น
พระนารายณ์บรรทมสินธุ์ทรงอยู่ที่ทับหลังของมณฑปด้านทิศตะวันออกของปราสาทประธานปราสาทหินพนมรุ้ง เป็นภาพนารายณ์บรรทมสินธุ์ โดยพระนารายณ์บรรทมตะแคงขวาเหนือพระยาอนันตนาคราช ณ เกษียรสมุทรโดยมีพระนางลักษมีซึ่งเป็นเทพีแห่งความงามและเป็นพระมเหสีคอยปรนนิบัติพัดวีมิให้ยุงริ้นไรมาไต่ตอมพระนารายณ์เพื่อให้บรรทมหลับพักผ่อนให้สบายเมื่อตื่นบรรทมมาแล้วแล้วและพระพรหมเทพอีกองค์หนึ่งของศาสนาพราหม์จะเป็นผู้สร้างโลกและทำสิ่งก่อสร้างขึ้นมาใหม่จึงเริ่มนับใหม่ครั้นสิ้นกัลปโลกก็จะแตกดับลงไปเอง และทับหลังนี้เคยถูกขโมยไปยังพิพิธภัณฑ์ชิคาโก้ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ปัจจุบันได้นำกลับมาคืนที่ปราสาทหินเขาพนมรุ้งเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
หมายเหตุ ปรากฎการณ์ดังกล่าว ณ ปราสาทหินพนมรุ้ง เป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ ดังนั้นวันและเวลาดังกล่าวอาจมีการเปลี่ยนแปลงและขึ้นอยู่กับช่วงฤดูกาลด้วย
งานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งจังหวัดบุรีรัมย์ จะจัดขึ้นทุกปีในช่วงวันที่ วันที่ 3 – 5 เมษายน โดยสถานที่จัดงาน: ณ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยภายในงานจะมีกิจกรรมสำคัญโดดเด่น ที่จัดให้มีขึ้นภายในงาน เช่น
การเดินทางสู่ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง : จาก อ.นางรอง ใช้ทางหลวงหมายเลข 24 ขับไปทางจังหวัดสุรินทร์ประมาณ 14 กิโลเมตร พอถึงสามแยกไฟแดงบ้านตะโก จากนั้นมีทางแยกขวามือเป็นถนนลาดยางเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 2117 ขับไปอีก 6 กิโลเมตรไปจนถึงบ้านตาเป๊กจะพบสามแยกให้เลียวซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 2221 ขับไปอีก 6 กิโลเมตร ขึ้นสู่ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง